วันเสาร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2554

เทคโนโลยี นวัตกรรม ที่สนใจ การทำปุ๋ยหมัก


ปุ๋ยหมักระบบกองเติมอากาศ
ใช้เวลาสั้น-ไม่กลับกองปุ๋ย!

              การ หมักปุ๋ยระบบกองเติมอากาศ (Aerated Static Pile Composting System) เป็นผล จากการวิจัยและพัฒนาของคณาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเกษตรและอาหาร คณะ วิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประกอบด้วย อ. ธีระ พงษ์ สว่างปัญญางกูร ผศ. เสมอขวัญ ตันติ กุล และ อ. ชนวัฒน์ นิทัศน์วิจิตร ซึ่งได้รับทุนวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการ อุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ปี 2545 โดยมีโจทย์วิจัยที่จะศึกษาศักยภาพของ ระบบกองเติมอากาศ ในการนำมาผลิตปุ๋ยหมักในเชิงพาณิชย์ของชุมชน โดยไม่ต้อง พลิกกลับกองปุ๋ย ซึ่งเป็นข้อจำกัดของการผลิตปุ๋ยหมักที่ผ่านมาของเกษตรกร 

              อ.ธีระพงษ์  สว่างปัญญางกูร  กล่าว ว่า  นวัตกรรมการผลิตปุ๋ยหมักระบบกองเติมอากาศเป็นกระบวนการย่อยสลายอินทรีย สารทางชีวภาพด้วยจุลินทรีย์ชนิดใช้ออกซิเจน  การจัดรูปร่างของกองปุ๋ยหมัก ให้เหมาะสม  การรักษาระดับความชื้นอยู่เสมอ  การกำหนดอัตราส่วนคาร์บอนต่อ ไนโตรเจนที่เหมาะสม  การย่อยเศษพืชให้มีขนาดเล็ก  ปัจจัยต่าง ๆ ดังกล่าวจะ ช่วยให้กองปุ๋นสามารถสะสมความร้อนที่เกิดจากปฏิกิริยาการย่อยสลายโดย จุลินทรีย์เอาไว้ภายในกองปุ๋ยได้  ความร้อนในกองปุ๋ยอาจสูงขึ้น ถึง 60-70 องศาเซลเซียส ในช่วง 2-5 วันแรก มีความเหมาะสมในการย่อยสลายโดย จุลินทรีย์ที่ชอบความร้อน 

              และเมื่ออุณหภูมิลดลง เป็น 40-60 องศาเซลเซียส จะเป็นการย่อยสลายทั่วไปโดยจุลินทรีย์อีกกลุ่มที่ ชอบความร้อนปานกลาง  เมื่อความร้อนในกองปุ๋ยลอยตัวสูงขึ้นอากาศภายนอกที่ เย็นกว่าจะไหลเข้ามากองปุ๋ยด้านข้าง เป็นการเติมอากาศให้กับกองปุ๋ยตาม ธรรมชาติตลอดเวลา เมื่อมีการอัดอากาศเพิ่มเติมแก่บริเวณกลางกองปุ๋ยด้วพัดลม เติมอากาศ จะทำให้กองปุ๋ยมีออกซิเจนเพียงพอต่อการย่อยสลายอยู่เสมอ  การย่อย สลายจึงสามารถดำเนินไปได้อย่างรวดเร็ว  การหมักปุ๋ยจะเสร็จภาย ใน 1 เดือน  โดยไม่ต้องพลิกกลับกองปุ๋ย  เกษตรกรสามารถผลิตปุ๋ยหมักเป็น อาชีพเสริมได้มากถึงเดือนละ 10 กอง หรือเดือนละ 15 ตัน หากมีเศษพืชเพียง พอ  โดยมีการลงทุนเครื่องย่อยเศษพืช  พัดลมเติมอากาศ  และ อื่น ๆ ประมาณ 1 แสนบาท

              สำหรับขั้นตอนในการผลิตปุ๋ย หมักระบบกองเติมอากาศแบบง่าย ๆ มีวิธีการไม่ยุ่งยาก ดังนี้  นำเศษพืชไปย่อย ในเครื่องย่อยเศษพืชให้มีปริมาตร 6 ลูกบาตรเมตร  ผสมกับมูลโค 3 ลูกบาศเมตร ,  นำกิ่งไม้วางก่ายบนท่อพีวีซีเจาะรูขยาด 4 นิ้ว  ที่ต่อมาจากพัดลมเติม อากาศขนาด 3 แรงม้า กิ่งไม้จะช่วยในการกระจายากาศ  นำวัตถุดิบวางทับให้เป็ฯ รูปปริซึมสามเหลี่ยม 2.5*1.0*3.5 เมตร,  เปิดพัดลมเติมอากศเช้าและ เย็น ครั้งละ 15 นาที นาน 30 วัน หรือมากกว่าจนการหมักเสร็จสิ้น,  เกษตรกร หมั่นตรวจสอบความชื้นทุก ๆ 4-5 วันโดยล้วงมือเข้าไปกลางกองปุ๋ยและทดลองจับ ดู ส่วนการเติมน้ำทำได้โดยการใช้ไม้แทงกองปุ๋ยเป้นระยะ ๆ ให้ถึงบริเวณกลาง กองปุ๋ญแล้วเติมน้ำ  เมื่อการหมักสิ้นสุดลงย้ายปุ๋ยเข้าในที่ร่มทิ้งไว้ อีก 30 วันเพื่อบ่มให้ปุ๋ยมีความเสถียร

              การผลิตปุ๋ย หมักระบบกองเติมอากาศนี้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์จังหวัดพะเยาด้านเกษตร อินทรีย์  นายบวร  รัตนประสิทธิ์  ผู้ว่าราชการจะงหวัดพะเยา  ได้อนุมัติงบ ประมาณผู้ว่าซีอีโอ ปี 2547 จำนวน 2 ล้านบาท เพื่อให้กลุ่มเกษตรกรทุก อำเภอ รวม 20 แห่ง ผลิตปุ๋ยหมักจากดศษพืชด้วยระบบกองเติมอากาศแทนการเผา ทำลาย  ซึ่งนอกจากจะเป็นการสนองนโยบายของรัฐบาลด้านเกษตรอินทรีย์  ซึ่งปัจ บันเป็นวาระแห่งชาติ  ยังเป็นการอนุรักษ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม  ทำให้เกษตรกร และประชาชนมีสุขภาพดี  เป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งเศรษฐกิจชุมชนจากการ จำหน่ายและใช้ปุ๋ยหมักคุณภาพดีที่ผลิตขึ้นเองอีกด้วย 

              ใน เร็ว ๆ นี้ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร  มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมกับศูนย์ สาธิตผลิตปุ๋ยหมักระบบกองเติมอากาศ แม่โจ้ 70 ปี จะฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "การผลิตปุ๋ยหมักในเชิงพาณิชย์ของชุมชนด้วยระบบกองเติมอากาศ"  ให้ แก่เกษตรกรและผู้นำชุมชนในจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน รุ่นที่ 1 ในวัน ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2548 เวลา 08.30-16.30 น. และรุ่นที่ 2 ใน ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2548 เวลา 08.30-16.30 น. รุ่นละ 250 คน โดยไม่เสียค่า ใช้จ่ายใด ๆ  ณ อาคารปฏิบัติการเรียนรวมทางวิศวกรรม คณะวิศวกรรมและ อุตสาหกรรมเกษตร และศูนย์สาธิตผลิตปุ๋ยหมักระบบกองเติมอากาศ แม่ โจ้ 70 ปี ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อรายละเอียดเพิ่มเติมและสำรองที่นั่งเพื่อ เข้ารับการฝึกอบรมได้ที่ คุณแสนวสันต์ ยอดคำ ภาควิชาวิศวกรรมการเกษตรและ อาหาร คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่ โจ้ โทรศัพท์ 0-9759-9112  โทรสาร 0-5349-8902   ภายในวัน ที่ 24 มกราคม 2547 หรือดูขอ้มูลเพิ่มเติมได้ทาง www.compost.mju.ac.th

              เทคโนโลยี การผลิตปุ๋ยหมักระบบกองเติมอากาศ  นวตกรรมที่สนองต่อวาระแห่งชาติด้านการ เกษตรอินทรีย์และช่วยลดมลพิษทางอากาศ  โดยเกษตรสามารถผลิตปุ๋ยหมักจากเศษพืช แทนการเผาทำลาย  และได้ปุ๋ยหมักในเวลาอันสั้นเพียง 30 วัน โดยไมม่ต้อง พลิกกลับกองปุ๋ย


แนวความคิดและทฤษฎี
การหมักปุ๋ยระบบกองเติมอากาศเป็นกระบวนการย่อยสลายอินทรียสารทางชีวภาพด้วยจุลินทรีย์ชนิดใช้ออกซิเจน การจัดรูปร่างของกองปุ๋ยให้มีความเหมาะสมทางวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม การกำหนดอัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจนของวัตถุดิบ รวมทั้งการย่อยเศษพืชให้มีขนาดเล็กลง และมีความชื้นที่พอเหมาะ จะทำให้กองปุ๋ยสามารถสะสมความร้อนที่เกิดจากปฏิกิริยาการย่อยสลายเอาไว้ภายในกองปุ๋ยได้ ความร้อนในกองปุ๋ยที่ขึ้นสูง 60-70 O C ในช่วง 2-5 วันแรก เป็นช่วงอุณหภูมิที่มีความเหมาะสมในการย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ กลุ่มที่ชอบความร้อน (Thermophilic Microorganisms) และเมื่ออุณหภูมิลดลงเป็น 40-60 O C ก็จะมีการย่อยสลายโดยจุลินทรีย์อีกกลุ่มหนึ่งที่ชอบความร้อนปานกลาง (Mesophilic Microorganisms) เมื่อความร้อนในกองปุ๋ยนี้ลอยตัวสูงขึ้น อากาศภายนอกที่เย็นกว่าก็จะไหลเข้ากองปุ๋ยทางด้านข้าง เท่ากับเป็นการเติมอากาศให้กับกองปุ๋ยตามธรรมชาติตลอดเวลา เรียกว่าปรากฏการณ์ Chimney Convection (Diaz et al, 1993) และเมื่อมีการเติมอากาศเพิ่มเติมแก่บริเวณกลางกองปุ๋ยเป็นครั้ง ๆ ด้วยพัดลมเติมอากาศ (Blower) ก็จะทำให้ภายในกองปุ๋ยมีออกซิเจนในปริมาณที่เพียงพอต่อการย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ การย่อยสลายก็จะสามารถดำเนินไปได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องพลิกกลับกองปุ๋ย ซึ่งผลดีประการหนึ่งจากการที่ไม่ต้องพลิกกลับคือ จะทำให้การสูญเสียไนโตรเจนในรูปของแอมโมเนียไนโตรเจนที่ระเหยสู่อากาศจากการพลิกกลับกองปุ๋ยลดลงได้
ค่าอุณหภูมิภายในกองปุ๋ยอายุ 5 วัน และการแทนที่ของอากาศภายในกองปุ๋ย
ที่มา : ดัดแปลงจาก ธีระพงษ์ เสมอขวัญ และชนวัฒน์ (2547)
ภาพแสดงค่าอุณหภูมิภายในกองปุ๋ยจากการวิจัย ค่าอุณหภูมิที่สูงใน 2-5 วันแรก เหมาะกับการย่อยสลายของจุลินทรีย์กลุ่มเทอร์โมฟิลิก หลังจากนั้นเมื่ออุณหภูมิลดลง จะเป็นการย่อยสลายโดยจุลินทรีย์กลุ่มเมโซฟิลิก
ที่มา : ธีระพงษ์ เสมอขวัญ และชนวัฒน์ (2547)
จุลินทรีย์ชนิดต่าง ๆ ที่ทำงานร่วมกัน ในการย่อยสลายวัตถุดิบให้เป็นปุ๋ยหมัก
        http://www.compost.mju.ac.th/prod/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น