วันเสาร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2554

ประวัติผู้จัดทำ


ประวัตินักศึกษามหาลัยราชภัฎเชียงราย
นักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพครู  วิทยาเขตเชียงคำ
รหัสนัก 537003001

ประวัติส่วนตัว
ชื่อ                          นายปรีชา  ธิดาราม
ที่อยู่                        บ้านเลขที่ 73 หมู่ 2 ต.แม่นาวาง อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ 50280
วัน/เดือน/ปี           เกิด25  กรกฎาคม  2528
อายุ                         25
ส่วนสูง                  180
น้ำหนัก                 62
เพศ                         ชาย
เบอร์โทร               086-1152707
ที่อยู่อีเมล               sampreecha13@gmail.com

ประวัติการศึกษา
มัธยมตอนต้น       โรงเรียนพระปริญัติธรรมวัดท่าตอนจังหวัดเชียงใหม่
มัธยมตอนปลาย    โรงเรียนพระปริญัติธรรมวัดท่าตอนจังหวัดเชียงใหม่
ประกาศณียบัตรวิชาชีพชั้นสูง วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเชียงรายจังหวัดเชียงราย
ปริญญาตรี มหาวิทยาลัยแม่โจ้จังหวัดเชียงใหม่

ประวัติการทำงาน
1         มูลนิธิโครงการหลวงแม่แฮ               จังหวัดเชียงใหม่                  ผู้ช่วยนักวิจัย
2         โรงเรียนพญาลอวิทยาคม อำเภอจุน  จังหวัดพะเยา                      ครูอัตราจ้างสอนวิชาเกษตร

คติ
ของตนเอง              ทำวันนี้ให้ดีที่สุด
ของมหาวิทยาลัย   งานหนักไม่เคยฆ่าคน

เทคโนโลยี นวัตกรรม ที่สนใจ การทำปุ๋ยหมัก


ปุ๋ยหมักระบบกองเติมอากาศ
ใช้เวลาสั้น-ไม่กลับกองปุ๋ย!

              การ หมักปุ๋ยระบบกองเติมอากาศ (Aerated Static Pile Composting System) เป็นผล จากการวิจัยและพัฒนาของคณาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเกษตรและอาหาร คณะ วิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประกอบด้วย อ. ธีระ พงษ์ สว่างปัญญางกูร ผศ. เสมอขวัญ ตันติ กุล และ อ. ชนวัฒน์ นิทัศน์วิจิตร ซึ่งได้รับทุนวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการ อุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ปี 2545 โดยมีโจทย์วิจัยที่จะศึกษาศักยภาพของ ระบบกองเติมอากาศ ในการนำมาผลิตปุ๋ยหมักในเชิงพาณิชย์ของชุมชน โดยไม่ต้อง พลิกกลับกองปุ๋ย ซึ่งเป็นข้อจำกัดของการผลิตปุ๋ยหมักที่ผ่านมาของเกษตรกร 

              อ.ธีระพงษ์  สว่างปัญญางกูร  กล่าว ว่า  นวัตกรรมการผลิตปุ๋ยหมักระบบกองเติมอากาศเป็นกระบวนการย่อยสลายอินทรีย สารทางชีวภาพด้วยจุลินทรีย์ชนิดใช้ออกซิเจน  การจัดรูปร่างของกองปุ๋ยหมัก ให้เหมาะสม  การรักษาระดับความชื้นอยู่เสมอ  การกำหนดอัตราส่วนคาร์บอนต่อ ไนโตรเจนที่เหมาะสม  การย่อยเศษพืชให้มีขนาดเล็ก  ปัจจัยต่าง ๆ ดังกล่าวจะ ช่วยให้กองปุ๋นสามารถสะสมความร้อนที่เกิดจากปฏิกิริยาการย่อยสลายโดย จุลินทรีย์เอาไว้ภายในกองปุ๋ยได้  ความร้อนในกองปุ๋ยอาจสูงขึ้น ถึง 60-70 องศาเซลเซียส ในช่วง 2-5 วันแรก มีความเหมาะสมในการย่อยสลายโดย จุลินทรีย์ที่ชอบความร้อน 

              และเมื่ออุณหภูมิลดลง เป็น 40-60 องศาเซลเซียส จะเป็นการย่อยสลายทั่วไปโดยจุลินทรีย์อีกกลุ่มที่ ชอบความร้อนปานกลาง  เมื่อความร้อนในกองปุ๋ยลอยตัวสูงขึ้นอากาศภายนอกที่ เย็นกว่าจะไหลเข้ามากองปุ๋ยด้านข้าง เป็นการเติมอากาศให้กับกองปุ๋ยตาม ธรรมชาติตลอดเวลา เมื่อมีการอัดอากาศเพิ่มเติมแก่บริเวณกลางกองปุ๋ยด้วพัดลม เติมอากาศ จะทำให้กองปุ๋ยมีออกซิเจนเพียงพอต่อการย่อยสลายอยู่เสมอ  การย่อย สลายจึงสามารถดำเนินไปได้อย่างรวดเร็ว  การหมักปุ๋ยจะเสร็จภาย ใน 1 เดือน  โดยไม่ต้องพลิกกลับกองปุ๋ย  เกษตรกรสามารถผลิตปุ๋ยหมักเป็น อาชีพเสริมได้มากถึงเดือนละ 10 กอง หรือเดือนละ 15 ตัน หากมีเศษพืชเพียง พอ  โดยมีการลงทุนเครื่องย่อยเศษพืช  พัดลมเติมอากาศ  และ อื่น ๆ ประมาณ 1 แสนบาท

              สำหรับขั้นตอนในการผลิตปุ๋ย หมักระบบกองเติมอากาศแบบง่าย ๆ มีวิธีการไม่ยุ่งยาก ดังนี้  นำเศษพืชไปย่อย ในเครื่องย่อยเศษพืชให้มีปริมาตร 6 ลูกบาตรเมตร  ผสมกับมูลโค 3 ลูกบาศเมตร ,  นำกิ่งไม้วางก่ายบนท่อพีวีซีเจาะรูขยาด 4 นิ้ว  ที่ต่อมาจากพัดลมเติม อากาศขนาด 3 แรงม้า กิ่งไม้จะช่วยในการกระจายากาศ  นำวัตถุดิบวางทับให้เป็ฯ รูปปริซึมสามเหลี่ยม 2.5*1.0*3.5 เมตร,  เปิดพัดลมเติมอากศเช้าและ เย็น ครั้งละ 15 นาที นาน 30 วัน หรือมากกว่าจนการหมักเสร็จสิ้น,  เกษตรกร หมั่นตรวจสอบความชื้นทุก ๆ 4-5 วันโดยล้วงมือเข้าไปกลางกองปุ๋ยและทดลองจับ ดู ส่วนการเติมน้ำทำได้โดยการใช้ไม้แทงกองปุ๋ยเป้นระยะ ๆ ให้ถึงบริเวณกลาง กองปุ๋ญแล้วเติมน้ำ  เมื่อการหมักสิ้นสุดลงย้ายปุ๋ยเข้าในที่ร่มทิ้งไว้ อีก 30 วันเพื่อบ่มให้ปุ๋ยมีความเสถียร

              การผลิตปุ๋ย หมักระบบกองเติมอากาศนี้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์จังหวัดพะเยาด้านเกษตร อินทรีย์  นายบวร  รัตนประสิทธิ์  ผู้ว่าราชการจะงหวัดพะเยา  ได้อนุมัติงบ ประมาณผู้ว่าซีอีโอ ปี 2547 จำนวน 2 ล้านบาท เพื่อให้กลุ่มเกษตรกรทุก อำเภอ รวม 20 แห่ง ผลิตปุ๋ยหมักจากดศษพืชด้วยระบบกองเติมอากาศแทนการเผา ทำลาย  ซึ่งนอกจากจะเป็นการสนองนโยบายของรัฐบาลด้านเกษตรอินทรีย์  ซึ่งปัจ บันเป็นวาระแห่งชาติ  ยังเป็นการอนุรักษ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม  ทำให้เกษตรกร และประชาชนมีสุขภาพดี  เป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งเศรษฐกิจชุมชนจากการ จำหน่ายและใช้ปุ๋ยหมักคุณภาพดีที่ผลิตขึ้นเองอีกด้วย 

              ใน เร็ว ๆ นี้ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร  มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมกับศูนย์ สาธิตผลิตปุ๋ยหมักระบบกองเติมอากาศ แม่โจ้ 70 ปี จะฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "การผลิตปุ๋ยหมักในเชิงพาณิชย์ของชุมชนด้วยระบบกองเติมอากาศ"  ให้ แก่เกษตรกรและผู้นำชุมชนในจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน รุ่นที่ 1 ในวัน ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2548 เวลา 08.30-16.30 น. และรุ่นที่ 2 ใน ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2548 เวลา 08.30-16.30 น. รุ่นละ 250 คน โดยไม่เสียค่า ใช้จ่ายใด ๆ  ณ อาคารปฏิบัติการเรียนรวมทางวิศวกรรม คณะวิศวกรรมและ อุตสาหกรรมเกษตร และศูนย์สาธิตผลิตปุ๋ยหมักระบบกองเติมอากาศ แม่ โจ้ 70 ปี ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อรายละเอียดเพิ่มเติมและสำรองที่นั่งเพื่อ เข้ารับการฝึกอบรมได้ที่ คุณแสนวสันต์ ยอดคำ ภาควิชาวิศวกรรมการเกษตรและ อาหาร คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่ โจ้ โทรศัพท์ 0-9759-9112  โทรสาร 0-5349-8902   ภายในวัน ที่ 24 มกราคม 2547 หรือดูขอ้มูลเพิ่มเติมได้ทาง www.compost.mju.ac.th

              เทคโนโลยี การผลิตปุ๋ยหมักระบบกองเติมอากาศ  นวตกรรมที่สนองต่อวาระแห่งชาติด้านการ เกษตรอินทรีย์และช่วยลดมลพิษทางอากาศ  โดยเกษตรสามารถผลิตปุ๋ยหมักจากเศษพืช แทนการเผาทำลาย  และได้ปุ๋ยหมักในเวลาอันสั้นเพียง 30 วัน โดยไมม่ต้อง พลิกกลับกองปุ๋ย


แนวความคิดและทฤษฎี
การหมักปุ๋ยระบบกองเติมอากาศเป็นกระบวนการย่อยสลายอินทรียสารทางชีวภาพด้วยจุลินทรีย์ชนิดใช้ออกซิเจน การจัดรูปร่างของกองปุ๋ยให้มีความเหมาะสมทางวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม การกำหนดอัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจนของวัตถุดิบ รวมทั้งการย่อยเศษพืชให้มีขนาดเล็กลง และมีความชื้นที่พอเหมาะ จะทำให้กองปุ๋ยสามารถสะสมความร้อนที่เกิดจากปฏิกิริยาการย่อยสลายเอาไว้ภายในกองปุ๋ยได้ ความร้อนในกองปุ๋ยที่ขึ้นสูง 60-70 O C ในช่วง 2-5 วันแรก เป็นช่วงอุณหภูมิที่มีความเหมาะสมในการย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ กลุ่มที่ชอบความร้อน (Thermophilic Microorganisms) และเมื่ออุณหภูมิลดลงเป็น 40-60 O C ก็จะมีการย่อยสลายโดยจุลินทรีย์อีกกลุ่มหนึ่งที่ชอบความร้อนปานกลาง (Mesophilic Microorganisms) เมื่อความร้อนในกองปุ๋ยนี้ลอยตัวสูงขึ้น อากาศภายนอกที่เย็นกว่าก็จะไหลเข้ากองปุ๋ยทางด้านข้าง เท่ากับเป็นการเติมอากาศให้กับกองปุ๋ยตามธรรมชาติตลอดเวลา เรียกว่าปรากฏการณ์ Chimney Convection (Diaz et al, 1993) และเมื่อมีการเติมอากาศเพิ่มเติมแก่บริเวณกลางกองปุ๋ยเป็นครั้ง ๆ ด้วยพัดลมเติมอากาศ (Blower) ก็จะทำให้ภายในกองปุ๋ยมีออกซิเจนในปริมาณที่เพียงพอต่อการย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ การย่อยสลายก็จะสามารถดำเนินไปได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องพลิกกลับกองปุ๋ย ซึ่งผลดีประการหนึ่งจากการที่ไม่ต้องพลิกกลับคือ จะทำให้การสูญเสียไนโตรเจนในรูปของแอมโมเนียไนโตรเจนที่ระเหยสู่อากาศจากการพลิกกลับกองปุ๋ยลดลงได้
ค่าอุณหภูมิภายในกองปุ๋ยอายุ 5 วัน และการแทนที่ของอากาศภายในกองปุ๋ย
ที่มา : ดัดแปลงจาก ธีระพงษ์ เสมอขวัญ และชนวัฒน์ (2547)
ภาพแสดงค่าอุณหภูมิภายในกองปุ๋ยจากการวิจัย ค่าอุณหภูมิที่สูงใน 2-5 วันแรก เหมาะกับการย่อยสลายของจุลินทรีย์กลุ่มเทอร์โมฟิลิก หลังจากนั้นเมื่ออุณหภูมิลดลง จะเป็นการย่อยสลายโดยจุลินทรีย์กลุ่มเมโซฟิลิก
ที่มา : ธีระพงษ์ เสมอขวัญ และชนวัฒน์ (2547)
จุลินทรีย์ชนิดต่าง ๆ ที่ทำงานร่วมกัน ในการย่อยสลายวัตถุดิบให้เป็นปุ๋ยหมัก
        http://www.compost.mju.ac.th/prod/

แผนการสอน วิชา งานเกษตร(ง. 21204) ม.1รร.พญาลอวิทยาคม อำเภอจุน จังหวัดพะเยา

กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี  รายวิชา งานเกษตร (ง. 21204) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1
หน่วยการเรียนรู้ที่  2                เรื่อง กระบวนการผลิตพืช                                       เวลา  14  ชั่วโมง
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1      เรื่อง การคัดเลือกและขยายพันธุ์พืชด้วยเมล็ด     เวลา    2   ชั่วโมง

1. มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด
มาตรฐาน ง 1.1        เข้าใจการทำงาน  มีความคิดสร้างสรรค์  มีทักษะกระบวนการทำงาน ทักษะ การจัดการ ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา  ทักษะการทำงานร่วมกัน และทักษะ การแสวงหาความรู้  มีคุณธรรม    และลักษณะนิสัยในการทำงาน  มีจิตสำนึก ในการใช้พลังงาน  ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมเพื่อการดำรงชีวิตและครอบครัว
ตัวชี้วัด     1.1        วิเคราะห์ขั้นตอนการทำงานตามกระบวนการทำงาน 
       1. 2           ใช้กระบวนการกลุ่มในการทำงานด้วยความเสียสละ
มาตรฐาน ง 4.1      เข้าใจ มีทักษะที่จำเป็น  มีประสบการณ์  เห็นแนวทางในงานอาชีพ  ใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนา                อาชีพ   มีคุณธรรม  และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพ
ตัวชี้วัด      4.2      มีเจตคติที่ดีต่อการประกอบอาชีพ
                   4.3      เห็นความสำคัญของการสร้างอาชีพ
2. สาระสำคัญ
             การปลูกพืชด้วยเมล็ดไม่ว่าจะเป็นพืชชนิดใดก็ตามถ้าเราต้องการที่จะให้พืชเจริญเติบโตมีลำต้นสมบูรณ์  แข็งแรงและให้ผลผลิตสูงเราจะต้องมีวิธีการคัดเลือกพันธุ์พืชที่เหมาะสม เพื่อให้ได้พันธุ์ดีตามที่เราต้องการและ  ต้องมีวิธีการปลูกพืชที่เหมาะสมก็จะทำให้พืชเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ และให้ผลผลิตตามที่ต้องการ

3. จุดประสงค์การเรียนรู้

             3.1 สามารถคัดเลือกเมล็ดพันธุ์พืชเพื่อนำไปเพาะปลูกได้ (P)
             3.2 บอกปัจจัยที่เหมาะสมต่อการปลูกพืชด้วยเมล็ดได้ (K)
             3.3 อธิบายหลักการและวิธีการขยายพันธุ์พืชด้วยเมล็ดได้ (K)
             3.4 อธิบายวิธีการปลูกพืชด้วยเมล็ดได้อย่างเหมาะสม (P)
             3.5 มีเจตคติต่อวิชางานเกษตร (A)
             3.6 รู้จักใช้วัสดุ-อุปกรณ์การเรียนรู้อย่างประหยัดและรู้คุณค่า (A)


4. สาระการเรียนรู้
4.1 ด้านความรู้
4.1.1 ปัจจัยที่เหมาะสมต่อการปลูกพืชด้วยเมล็ด
4.1.2 หลักและวิธีการขยายพันธุ์พืชด้วยเมล็ด

4.2 ด้านทักษะกระบวนการ
4.2.1 คัดเลือกเมล็ดพันธุ์พืชในการเพาะปลูก
4.2.2 วิธีการปลูกพืชด้วยเมล็ด

4.3 ด้านคุณธรรมจริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์
                                 4.3.1 เจตคติที่ดีต่อวิชางานเกษตร
                                 4.3.2 การใช้วัสดุ-อุปกรณ์ อย่างประหยัดและรู้คุณค่า

5. กระบวนการจัดการเรียนรู้   แบบสาธิตเป็นกลุ่ม
5.1 ขั้นนำ
             - นำเสนอวีดีทัศน์
             - กิจกรรมนำเข้าสู่บทเรียน โดยการสนทนา ซักถามนักเรียนว่า เคยปลูกพืชด้วยตนเองหรือไม่
               ถ้าเคย เคยปลูกอะไร และมีวิธีการปลูกอย่างไร

5.2 ขั้นสาธิต
             - บอกจุดประสงค์การเรียนรู้/การสาธิต  และเรื่องราวการปลูกพืชโดยการใช้เมล็ด  ให้นักเรียนทราบ
             - ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม  ในห้องเรียน  5  กลุ่ม
             - แจก  วัสดุ  อุปกรณ์  สื่อ  การสาธิตให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม
             - ครูแสดงการสาธิต  และให้นักเรียนจดบันทึกในการสังเกตการณ์สาธิตของครู
             - นักเรียนทำการทดลองปลูกพืช ตามแบบขั้นตอนที่ได้บันทึกไว้
             - จดบันทึกการสาธิตของนักเรียน

5.3 ขั้นสรุป
             - ให้นักเรียนเขียนสรุปผลการสาธิตของนักเรียนในแต่ละกลุ่ม
             - นักเรียนส่งผลสรุปแก่ครู   
             - ครู-นักเรียนร่วมการสรุปผลการสาธิต
             - แจกแบบประเมินผลงานตนเอง ของนักเรียน  ต่อการเรียนรู้
             - นักเรียนกรอกแบบประเมินผลงานตนเองส่งครู

5.4 ภาระงาน
                - นักเรียนได้ ถาดหลุมที่เพาะเมล็ดพืชอย่างสมบูรณ์
- นักเรียนส่งใบงานเรื่อง การเพาะเมล็ดพันธุ์พืช

6.  สื่อการเรียนรู้/อุปกรณ์
                                             6.1   เมล็ดพันธุ์พืช
                                             6.2   ดินผสม
                  6.3   ถาดหลุมเพาะพันธ์พืช
                  6.4   ดินผสม
                                             6.5  บัวรดน้ำ
                  6.6   กระดาษ A4
                  6.7  วีดีทัศน์
                  6.8  แผ่นสไลด์
                  6.9  ไม้ไผ่เจาะหลุม
                  6.10 ถังน้ำ
                  6.11 ช้อนปลูก
                  6.12 แก้วสำหรับใส่เมล็ดพันธ์พืช

7. แหล่งเรียนรู้
                1. ห้องเรียน

8.   การวัดผลและประเมินผล
จุดประสงค์การเรียนรู้
วิธีวัด
เครื่องมือวัด
เกณฑ์การผ่าน
1. ด้านความรู้
        1.1 แบบประเมินผลงานของนักเรียน
        1.2 แบบประเมินผลงาน
             (เพื่อนเป็นผู้ประเมิน)
        1.3 แบบประเมินผลงาน
             (ครูเป็นผู้ประเมิน)

2. ด้านทักษะ/กระบวนการ
        2.1 แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
     
        2.2 แบบประเมินสมรรถนะ


3. ด้านคุณลักษณะอังพึงประสงค์
        3.1 ความมีวินัย
        3.2 ใฝ่เรียนรู้
        3.3 อยู่อย่างพอเพียง
        3.4 มุ่งมั่นในการทำงาน


ศึกษา / สังเกต






สังเกต




 สังเกต

 

แบบประเมิน

( รูบิค )





2.1 แบบสังเกต
พฤติกรรมกลุ่ม
2.2 แบบประเมินสมรรถนะผู้เรียน

แบบประเมินคุณลักษณะ
อันพึงประสงค์

ระดับ 3 ขึ้นไป
หรือ ร้อยละ 50





ระดับ 3 ขึ้นไป
หรือ ร้อยละ 75



ระดับ 3 ขึ้นไป
หรือ ร้อยละ 75


  
9. ข้อเสนอแนะ
................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................

10. ความเห็นของผู้บริหาร
................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................
                                                                                                                 ลงชื่อ .............................................
                                                                                                                             (..........................................)
                                                                                                                               ผู้อำนวยการสถานศึกษา
                                                                                                                             ................/................/..............

11. บันทึกหลังการสอน
11.1    ผลการสอน
................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................
11.2    ปัญหา/อุปสรรค
................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................

11.3    ข้อเสนอแนะ/แนวทางแก้ไข
................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................
               
ลงชื่อ......................................
ผู้สอน(นายปรีชา  ธิดาราม)              
................/.............../..............



ประวัติความเป็นมาของคอมเตอร์

คอมพิวเตอร์ ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้เป็นผลมาจากการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือในการ คำนวณซึ่งมีวิวัฒนาการนานมาแล้ว เริ่มจากเครื่องมือในการคำนวณเครื่องแรกคือ "ลูกคิด" (Abacus) ที่สร้างขึ้นในประเทศจีน เมื่อประมาณ 2,000-3,000 ปีมาแล้ว
เครื่องวิเคราะห์ (Analytical Engine)
จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2376 นักคณิตศาสต์ชาวอังกฤษ ชื่อ ชาร์ล แบบเบจ (Charles Babbage) ได้ประดิษฐ์เครื่องวิเคราะห์ (Analytical Engine) สามารถคำนวณค่าของตรีโกณมิติ ฟังก์ชั่นต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ การทำงานของเครื่องนี้แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนเก็บข้อมูล ส่วนคำนวณ และส่วนควบคุม ใช้ระบบพลังเครื่องยนต์ไอน้ำหมุนฟันเฟือง มีข้อมูลอยู่ในบัตรเจาะรู คำนวณได้โดยอัตโนมัติ และเก็บข้อมูลในหน่วยความจำ ก่อนจะพิมพ์ออกมาทางกระดาษ
หลักการของแบบเบจนี้เองที่ได้นำมาพัฒนาสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ เราจึงยกย่องให้แบบเบจเป็น บิดาแห่งเครื่องคอมพิวเตอร์
หลังจากนั้นเป็นต้นมา ได้มีผู้ประดิษฐ์เครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นมามากมายหลายขนาด ทำให้เป็นการเริ่มยุคของคอมพิวเตอร์อย่างแท้จริง   โดยสามารถจัดแบ่งคอมพิวเตอร์ออกได้เป็น 5 ยุค






เป็นการประดิษฐ์เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มิใช่เครื่องคำนวณ โดยเมาช์ลีและเอ็กเคอร์ต (Mauchly and Eckert) ได้นำแนวความคิดนั้นมาประดิษฐ์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพมากเครื่องหนึ่งเรียกว่า ENIAC (Electronic Numericial Integrator and Calculator) ซึ่งต่อมาได้ทำการปรับปรุงการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น   และได้ประดิษฐ์เครื่อง UNIVAC (Universal Automatic Computer) ขึ้นเพื่อใช้ในการสำรวจสำมะโนประชากรประจำปี 
คอมพิวเตอร์ในยุคที่ 1
จึงนับได้ว่า UNIVAC เป็น เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกที่ถูกใช้งานในเชิงธุรกิจ ซึ่งนับเป็นการเริ่มของเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคแรกอย่างแท้จริง เครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคนี้ใช้หลอดสุญญากาศในการควบคุมการทำงานของเครื่อง ซึ่งทำงานได้อย่างรวดเร็ว แต่มีขนาดใหญ่มากและราคาแพง ยุคแรกของคอมพิวเตอร์สิ้นสุดเมื่อมีผู้ประดิษฐ์ทรานซิสเตอร์มาใช้แทนหลอดสูญ ญากาศ

ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 1
-      ใช้อุปกรณ์ หลอดสุญญากาศ (Vacuum Tube) เป็นส่วนประกอบหลัก ทำให้ตัวเครื่องมีขนาดใหญ่ ใช้พลังงานไฟฟ้ามาก และเกิดความร้อนสูง
-      ทำงานด้วยภาษาเครื่อง (Machine Language) เท่านั้น
-      เริ่มมีการพัฒนาภาษาสัญลักษณ์ (Assembly / Symbolic Language) ขึ้นใช้งาน
มี การนำทรานซิสเตอร์ มาใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์จึงทำให้เครื่องมีขนาดเล็กลง และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มีความรวดเร็วและแม่นยำมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ในยุคนี้ยังได้มีการคิดภาษาเพื่อใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เช่น ภาษาฟอร์แทน (FORTRAN) จึงทำให้ง่ายต่อการเขียนโปรแกรมสำหรับใช้กับเครื่อง

 คอมพิวเตอร์ในยุคที่ 2
ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 2
-      ใช้อุปกรณ์ ทรานซิสเตอร์ (Transistor) ซึ่งสร้างจากสารกึ่งตัวนำ (Semi-Conductor) เป็น อุปกรณ์หลัก แทนหลอดสุญญากาศ เนื่องจากทรานซิสเตอร์เพียงตัวเดียว มีประสิทธิภาพในการทำงานเทียบเท่าหลอดสุญญากาศได้นับร้อยหลอด ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคนี้มีขนาดเล็ก ใช้พลังงานไฟฟ้าน้อย ความร้อนต่ำ ทำงานเร็ว และได้รับความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น
-      เก็บข้อมูลได้ โดยใช้ส่วนความจำวงแหวนแม่เหล็ก (Magnetic Core)
-      มีความเร็วในการประมวลผลในหนึ่งคำสั่ง ประมาณหนึ่งในพันของวินาที (Millisecond : mS)
-      สั่งงานได้สะดวกมากขึ้น เนื่องจากทำงานด้วยภาษาสัญลักษณ์ (Assembly Language)
-      เริ่มพัฒนาภาษาระดับสูง (High Level Language) ขึ้นใช้งานในยุคนี้
คอมพิวเตอร์ในยุคนี้เริ่มต้นภายหลังจากการใช้ทรานซิสเตอร์ได้เพียง 5 ปี เนื่องจากได้มีการประดิษฐ์คิดค้นเกี่ยวกับวงจรรวม (Integrated-Circuit) หรือเรียกกันย่อๆ ว่า "ไอซี" (IC) ซึ่งไอซีนี้ทำให้ส่วนประกอบและวงจรต่างๆ สามารถวางลงได้บนแผ่นชิป (chip) เล็กๆ เพียงแผ่นเดียว จึงมีการนำเอาแผ่นชิปมาใช้แทนทรานซิสเตอร์ทำให้ประหยัดเนื้อที่ได้มาก 
คอมพิวเตอร์ในยุคที่ 3
นอกจากนี้ยังเริ่มมีการใช้งานระบบจัดการฐานข้อมูล (Data Base Management Systems : DBMS) และ มีการพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ให้สามารถทำงานร่วมกันได้หลายๆ งานในเวลาเดียวกัน และมีระบบที่ผู้ใช้สามารถโต้ตอบกับเครื่องได้หลายๆ คน พร้อมๆ กัน (Time Sharing)

Integrated Circuit : IC
ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 3
-      ใช้อุปกรณ์ วงจรรวม (Integrated Circuit : IC) หรือ ไอซี และวงจรรวมสเกลขนาดใหญ่ (Large Scale Integration : LSI) เป็นอุปกรณ์หลัก
-      ความเร็วในการประมวลผลในหนึ่งคำสั่ง ประมาณหนึ่งในล้านของวินาที (Microsecond : mS) (สูงกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 1 ประมาณ 1,000 เท่า)  ทำงานได้ด้วยภาษาระดับสูงทั่วไป
เป็นยุคที่นำสารกึ่งตัวนำมาสร้างเป็นวงจรรวมความจุสูงมาก (Very Large Scale Integrated : VLSI) ซึ่งสามารถย่อส่วนไอซีธรรมดาหลายๆ วงจรเข้ามาในวงจรเดียวกัน และมีการประดิษฐ์ ไมโครโพรเซสเซอร์ (Microprocessor) ขึ้น ทำให้เครื่องมีขนาดเล็ก ราคาถูกลง และมีความสามารถในการทำงานสูงและรวดเร็วมาก จึงทำให้มีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) ถือกำเนิดขึ้นมาในยุคนี้
ไมโครโพรเซสเซอร์ (Microprocessor)
ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 4
-      ใช้อุปกรณ์ วงจรรวมสเกลขนาดใหญ่ (Large Scale Integration : LSI) และ วงจรรวมสเกลขนาดใหญ่มาก (Very Large Scale Integration : VLSI) เป็นอุปกรณ์หลัก
-      มีความเร็วในการประมวลผลแต่ละคำสั่ง ประมาณหนึ่งในพันล้านวินาที (Nanosecond : nS) และพัฒนาต่อมาจนมีความเร็วในการประมวลผลแต่ละคำสั่ง ประมาณหนึ่งในล้านล้านของวินาที (Picosecond : pS)
ใน ยุคนี้ ได้มุ่งเน้นการพัฒนา ความสามารถในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ และ ความสะดวกสบายในการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ อย่างชัดเจน มีการพัฒนาสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาขนาดเล็กขนาดเล็ก (Portable Computer) ขึ้นใช้งานในยุคนี้
โครงการพัฒนาอุปกรณ์ VLSI ให้ใช้งานง่าย และมีความสามารถสูงขึ้น รวมทั้งโครงการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับ ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) เป็นหัวใจของการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ในยุคนี้ โดยหวังให้ระบบคอมพิวเตอร์มีความรู้ สามารถวิเคราะห์ปัญหาด้วยเหตุผล
องค์ประกอบของระบบปัญญาประดิษฐ์ ประกอบด้วย 4 หัวข้อ ได้แก่
1. ระบบหุ่นยนต์ หรือแขนกล (Robotics or Robotarm System)
คือ หุ่นจำลองร่างกายมนุษย์ที่ควบคุมการทำงานด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ มีจุดประสงค์เพื่อให้ทำงานแทนมนุษย์ในงานที่ต้องการความเร็ว หรือเสี่ยงอันตราย เช่น แขนกลในโรงงานอุตสาหกรรม หรือหุ่นยนต์กู้ระเบิด เป็นต้น
แขนกลในโรงงานอุตสาหกรรม
2. ระบบประมวลภาษาพูด (Natural Language Processing System) 
คือ การพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถสังเคราะห์เสียงที่มีอยู่ในธรรมชาติ (Synthesize) เพื่อสื่อความหมายกับมนุษย์ เช่น เครื่องคิดเลขพูดได้ (Talking Calculator) หรือนาฬิกาปลุกพูดได้ (Talking Clock) เป็นต้น
เครื่องคิดเลขพูดได้ และนาฬิกาปลุกพูดได้

3. การรู้จำเสียงพูด (Speech Recognition System) 
คือ การพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์เข้าใจภาษามนุษย์ และสามารถจดจำคำพูดของมนุษย์ได้อย่างต่อเนื่อง กล่าวคือเป็นการพัฒนาให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้ด้วยภาษาพูด เช่น งานระบบรักษาความปลอดภัย งานพิมพ์เอกสารสำหรับผู้พิการ เป็นต้น
4. ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System) 
คือ การพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์มีความรู้ รู้จักใช้เหตุผลในการวิเคราะห์ปัญหา โดยใช้ความรู้ที่มี หรือจากประสบการณ์ในการแก้ปัญหาหนึ่ง ไปแก้ไขปัญหาอื่นอย่างมีเหตุผล ระบบนี้จำเป็นต้องอาศัยฐานข้อมูล (Database) ซึ่ง มนุษย์ผู้มีความรู้ความสามารถเป็นผู้กำหนดองค์ความรู้ไว้ในฐานข้อมูลดัง กล่าว เพื่อให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถวิเคราะห์ปัญหาต่างๆ ได้จากฐานความรู้นั้น เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์วิเคราะห์โรค หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ทำนายโชคชะตา เป็นต้น 

อ้างอิงจาก http://www.thaiwbi.com/course/Intro_com/Intro_com/wbi1/hie/menu2.htm